อธิการบดี มข.ชี้ปัญหาช้อปงานวิจัย อาจารย์ต้องทำวิจัย-อว.ออกเกณฑ์ขอตำแหน่งวิชาการใหม่

อธิการบดี มข.ชี้ปัญหาช้อปงานวิจัย อาจารย์ต้องทำวิจัย-อว.ออกเกณฑ์ขอตำแหน่งวิชาการใหม่

มข.พบอาจารย์เข้าข่ายช้อปงานวิจัย 8 ราย เร่งตรวจสอบดำเนินการทางวินัย ชี้ปมปัญหามาจากจูงใจอาจารย์ต้องทำวิจัย-ใช้ขอตำแหน่งวิชาการตามเกณฑ์ อว.ทำนักวิจัยหลงผิด

การศึกษา จากกรณีที่ 34 มหาวิทยาลัย รายงานผลการตรวจสอบอาจารย์ หรือนักวิจัยในสังกัด ว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ เผยแพร่ผลงานจากการซื้อผลงานตีพิมพ์ ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้รับทราบ และพบว่ามีบุคลากรที่มีข้อสังเกตเข้าข่ายในการผิดจรรยาบรรณการตีพิมพ์ผลงานวิจัย จำนวน 33 คนใน 8 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ (ม.อ.) และมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) โดย อว.เตรียมรายงานเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) รับทราบ เพื่อวางมาตรการในการแก้ไขปัญหาต่อไปนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า มข.ไม่ได้นิ่งนอนใจ หลังมีข่าวการซื้อขายงานวิจัย ได้ตรวจสอบทันที จากการตรวจสอบพบอาจารย์เข้าข่ายกระทำความผิด 8 ราย และได้ส่งรายชื่ออาจารย์ทั้ง 8 ราย ให้ อว.รับทราบแล้ว และ มข.ได้รายงานให้ที่ประชุม สภา มข.รับทราบพร้อมตั้งคณะกรรมการสอบวินัย เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งการตรวจสอบเรื่องนี้ต้องใช้เวลา และต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพราะต้องให้โอกาสอาจารย์ที่เข้าข่ายกระทำความผิดมาชี้แจงข้อกล่าวด้วย

อธิการบดี มข.ชี้ปัญหาช้อปงานวิจัย อาจารย์ต้องทำวิจัย-อว.ออกเกณฑ์ขอตำแหน่งวิชาการใหม่

รศ.นพ.ชาญชัยกล่าวต่อว่า เรื่องการซื้อขายงานวิจัยนั้น ต้องมองไปข้างหน้า โดยมาวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมถึงเกิดการซื้อขายงานวิจัยขึ้น

และต้องลงลึกไปที่รากของปัญหา ตนมองว่าเรื่องดังกล่าวมาจากการสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ ข่าวการศึกษา มหาวิทยาลัยผลิตผลงานวิจัย ซึ่งถือเป็นดาบสองคม เพราะทำให้ผู้ที่คิดไม่ดี จะปลอมแปลงงานวิจัย เพื่อนำมาเบิกค่าตีพิมพ์ หรือนำงานวิจัยนั้นมาขอรางวัล ประกอบกับปัจจุบัน อว.ออกหลักเกณฑ์วิธีการได้ตำแหน่งทางวิชาการรูปแบบใหม่ ที่ดูผลงานวิจัยเป็นหลัก สิ่งเหล่านี้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้อาจารย์ หรือนักวิจัยหลงผิด ไปซื้องานวิจัย “สิ่งที่เราควรหันกลับมาดู คือจะสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์แบบไหน ให้เกิดความสมดุล มีความเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความโลภ และขั้นตอนการตรวจสอบ ควรจะต้องละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้รางวัลต่างๆ ซึ่งในวันนี้มีการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ มช.ซึ่งจะมีวาระพิจารณาเรื่องวิธีการป้องกันเชิงระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการซื้อขายงานวิจัยขึ้น โดยที่ประชุมเสนอหลายวิธีการ เช่น การตีพิมพ์งานวิจัยด้านการแพทย์ บรรณาธิการวารสารด้านการแพทย์ทั่วโลกตกลงกันว่า ถ้าต้องการตีพิมพ์วารสารทางการแพทย์ โดยเฉพาะงานวิจัยที่เป็นการทดลอง จะต้องลงทะเบียนก่อน หากไม่ลงทะเบียน จะตีพิมพ์งานวิจัยไม่ได้ หากนำวิธีการนี้มาใช้ในสายสังคมศาสตร์ สายวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี อาจทำให้การปลอมแปลงงานวิจัยเกิดขึ้นน้อยลง เป็นต้น” รศ.นพ.ชาญชัย กล่าว

แนะนำข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เด้ง ‘ครูคลิปฉาว’ พ้นราชการ เครียดปลิดชีพหนีความผิด แต่ช่วยทัน พบเคยก่อเหตุมาแล้ว