ญี่ปุ่นเพิ่มโควต้าส่งออกเนื้อพรีเมียม หนุน’มัตสึซากะ’ตีตลาดโลก

ญี่ปุ่นเพิ่มโควต้าส่งออกเนื้อพรีเมียม

ญี่ปุ่นเพิ่มโควต้าส่งออกเนื้อพรีเมียม หนุนมัตสึซากะตีตลาดโลก ด้านสมาคมผู้ผลิตเนื้อวัวและตัวแทนผู้ผลิตจากจังหวัดมิเอะคาดว่า โควต้าเนื้อวัวมัตสึซากะปี66 จะส่งออกจากวัว300 ตัวมากกว่าปี65 ถึง 13 เท่า

ข่าว การส่งออกเนื้อวัวมัตสึซากะ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเนื้อวากิวอันดับต้น ๆ ของประเทศเทียบเท่ากับเนื้อโกเบที่รู้จักกันดี กำลังมียอดส่งออกพุ่งสูงขึ้นในปีนี้ เนื่องจากเป็นที่จับจองของตลาดเนื้อเนื้อวัว รวมถึงตลาดในสหรัฐ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง สมาคมผู้ผลิตเนื้อวัวและตัวแทนผู้ผลิตในท้องถิ่นจากทั่วทั้งจังหวัดมิเอะ ซึ่งเป็นเมืองแห่งเนื้อมัตสึซากะ คาดว่าโควต้าเนื้อวัวปีงบประมาณ 2566 จะเริ่มส่งออกเนื้อจากวัวทั้งหมด 300 ตัว ซึ่งมากกว่าการส่งออกในปี 2565 ถึง 13 เท่า และการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ จะพิจารณาตามรายรับที่จะได้จากผู้สั่งซื้อ ญี่ปุ่นจัดส่งเนื้อวากิวจากวัวพันธุ์ขนดำประมาณ 8,000 ตัว ไปยังตลาดภายในประเทศในแต่ละปี โดยเนื้อวัวลายหินอ่อนจะจัดส่งให้กับภัตตาคารหลายแห่ง และจำหน่ายเป็นของขวัญลักซ์ชัวรี เมื่อเพิ่มโควต้าส่งออกเนื้อวัว จึงคาดว่าเนื้อวัว 100 ตัวจะถูกส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ อย่างสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่นำเข้าแต่ชิ้นเนื้อวัวที่เป็นที่นิยม โดยส่วนใหญ่นำเนื้อไปทำสเต็ก และผู้ผลิตเนื้อจะจัดส่งชิ้นเนื้อจากวัว 200 ตัวที่ยังมีอยู่ เหมือนที่จัดส่งในประเทศ งานกิจกรรมส่งเสริมการขายเนื้อมัตสึซากะจะจัดขึ้นในเดือน มี.ค. ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เป็นครั้งแรก เนื่องจากผู้ผลิตหวังกระตุ้นการส่งออกไปยังยูเออี ซึ่งเป็นประเทศที่เนื้อวากิวญี่ปุ่นระดับไฮเอนด์เป็นที่นิยมในร้านอาหารหรู โดยผู้เข้าร่วมงานทั้ง 40 คน ซึ่งรวมถึงสมาชิกราชวงศ์ รัฐบาล เชฟ และผู้สื่อข่าว จะมีโอกาสได้ชิมเนื้อวัวมัตสึซากะจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองฮาลาล และภายในงานจะมีการอธิบายเกี่ยวกับเนื้อวัวส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้ การส่งออกเนื้อวัวมัตสึซากะเชิงพาณิชย์เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีงบประมาณ 2564 แต่มีการจำกัดปริมาณส่งออกเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนเนื้อภายในประเทศ ส่วนรายได้จากการขายเนื้อในตลาดอื่น ๆ เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากโควิด-19 บั่นทอนความต้องการเนื้อของร้านอาหารในญี่ปุ่น ผลักดันให้ราคาเนื้อในโตเกียวต่ำกว่า 3,000 เยนหรือประมาณ 771 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงต้นปีงบประมาณ 2563 อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และสมาคมอุตสาหกรรมเนื้อวัวก่อตั้งสภาการส่งออกขึ้นในเดือนส.ค.ของปีนั้น สภาส่งออก ระบุว่า เนื้อวัวมัตสึซากะเป็นที่รู้จักมากในญี่ปุ่นแต่ไม่ค่อยเป็นที่จดจำในตลาดต่างประเทศ เมื่อเทียบกับเนื้อโกเบและเนื้อโอมิที่มีการส่งออกจำนวนมาก ซึ่งสภาส่งออกกำลังพิจารณาร่วมงานกับกลุ่มสมาคมเนื้อโกเบและเนื้อโอมิ เพื่อโปรโมทสินค้าในต่างประเทศและคอยตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าปลอม จังหวัดเฮียวโงะ เผยว่า ผู้ผลิตเนื้อโกเบได้ขยายตลาดส่งออกตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 และในปี 2564 มีเนื้อวัวส่งออกจากวัว 1,396 ตัว ส่วนจังหวะชิงะได้ส่งออกเนื้อโอมิตั้งแต่ปี 2553 และในปี 2564 ผู้ผลิตในจังหวัดสามารถส่งออกเนื้อโอมิจากวัว 451 ตัว

ญี่ปุ่นเพิ่มโควต้าส่งออกเนื้อพรีเมียม

ในขณะที่ญี่ปุ่นเตรียมส่งออกเนื้อวัวพรีเมียมไปยังสหรัฐและตลอดอื่น ๆ เพิ่มขึ้น บริษัทเปปเปอร์ของญี่ปุ่นที่ให้บริการอาหารรูปแบบกระทะร้อน เล็งขยายธุรกิจสเต็กในประเทศฟิลิปปินส์ด้วยราคาย่อมเยาว์และนำเข้าเนื้อจากสหรัฐ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเนื้อในญี่ปุ่น

โดยบริษัทเปปเปอร์ฟู้ดเซอร์วิสได้เปิดร้านเสต็กเนื้อกระทะร้อนสาขาแรกในฟิลิปปินส์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ม.ค. หวังหาตลาดเติบโตแห่งใหม่หลังถอนธุรกิจออกจากสหรัฐ ร้านอาหารแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบริษัท ได้เปิดธุรกิจร่วมกับห้างสรรพสินค้าเอสเอ็มมอลล์ออฟเอเชียในกรุงมะนิลา ซึ่งเป็นหนึ่งในห้างที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้ และเป็นสาขาที่สองในเอเชียหลังบริษัทเปิดร้านิาหารในไต้หวัน ร้านสเต็กเนื้อกระทะร้อนหวังว่าจะสามารถดึงดูดลูกค้าได้หลายกลุ่ม ตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงคู่รัก ซึ่งในช่วงการเปิดตัวร้านเมื่อเดือน ธ.ค.65 มียอดสั่งอาหารไม่ขาดสาย ร้านอาหารถูกพูดถึงในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง ในปีนี้บริษัทจึงวางแผนเพิ่มสาขาสองในฟิลิปปินส์ รวมถึงย่านโบนิฟาซิโอ โกลบอล ซิตี้ (BGC) ซึ่งเป็นศูนย์การค้าแบรนด์ดังและมีร้านอาหารมากมาย “คาสุโนริ คันโนะ” หัวหน้าฝ่ายธุรกิจต่างประเทศของเปปเปอร์ฟู้ด กล่าวว่า “เมื่อการดำเนินธุรกิจราบรื่น ข่าวธุรกิจ เราจะจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่” บริษัทเคยพยายามเจาะตลาดสหรัฐ แต่การขยายสาขาอย่างรวดเร็วทำให้การฝึกอบรมพนักงานภายใต้โครงสร้างการจัดการของบริษัททำได้ยากลำบาก เปปเปอร์ฟู้ดหวังว่าจะสามารหลีกเลี่ยงความผิดพลาดนี้ในฟิลิปปินส์ได้ โดยการทำงานร่วมกับธุรกิจประเภทเดียวกันที่คุ้นเคยกับลูกค้าและคุ้นเคยกับดำเนินธุรกิจในท้องถิ่น เปอเปอร์ฟู้ดได้ลงนามข้อตกลงแฟรนไชส์กับบริษัทท้องถิ่น “อีซี่ฟู้ด เรสเตอรองท์ส” นอกจากได้รับแรงผลักดันจากอีซี่ฟู้ดแล้ว เปปเปอร์ฟู้ดตัดสินใจขยายสาขาในฟิลิปปินส์เพราะอายุเฉลี่ยของคนในประเทศยังเป็นวัยหนุ่มสาวช่วง 25 ปี และพิจารณาจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ สเต็กค่อนข้างมีราคาแพงในฟิลิปปินส์ และมักจะรับประทานในโอกาสพิเศษ ด้าน “เอ็ดเวิร์ด โจส” ประธานอีซีฟู้ดกล่าวว่า การจำหน่ายสเต็กที่เอื้อมถึงได้เป็นจุดขายเด่นสำหรับธุรกิจร้านอาหารกระทะร้อน เนื้อสเต็กที่นำเข้าจากสหรัฐ มีราคาใกล้เคียงกับเนื้อในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 599 เปโซ หรือประมาณ 361 บาทต่อเนื้อ 200 กรัม และแม้ร้านอาหารในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นแบบยืน แต่ร้านอาหารในมะนิลามีที่นั่งทั้งนอกร้านและในร้านกว่า 60 ที่ แต่การทำอาหารช้าอาจสร้างปัญหา เนื่องจากร้านอาหารในมะนิลาต้องรออาหาร 50 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งนานกว่าประเทศญี่ปุ่นที่โดยปกติรออาหารเพียง 30-40 นาที อย่างไรก็ดี ปกติคนฟิลิปปินส์จะไปร้านอาหารเป็นกลุ่มใหญ่และมีความสุขกับการรับประมานอาหารเป็นระยะเวลานาน ซึ่งแผนบริการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรีอาจช่วยการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น